หางไดโนเสาร์ที่เต็มไปด้วยขนปกคลุม
ถูกเก็บรักษาอย่างสวยงามในผลึกอำพัน
อาจเป็นการค้นพบทางบรรพชีวินที่น่าตื่นตาที่สุดของปีนี้
ชิ้นส่วนอำพันถูกค้นพบในประเทศเมียนมา ซึ่งถูกขายแบบยกเข่งรวมๆ
กับอำพันพืชโบราณ แต่ไม่พ้นสายตาของนักบรรพชีวินชาวจีน Lida Xing จากมหาวิทยาลัย
China University of Geoscience ที่จำสัณฐานขนไดโนเสาร์โบราณที่ติดอยู่ในยางไม้ได้
ทีมนักวิจัยใช้เทคโนโลยี CT ในการวิเคราะห์โครงสร้างขนและกระดูก
สามารถบ่งชี้ทางลักษณะได้ว่า เจ้าของเก่าคือไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็ก
ที่มีรูปร่างเหมือนนก Coelurosaur มีชีวิตอยู่ราว 99 ล้านปีก่อน
ในช่วงยุคครีเทเชียส ซึ่งเป็นช่วงยุคปลายของจักรวรรดิไดโนเสาร์
จากความซับซ้อนของขนที่วิวัฒนาการอยู่ใน Stage 5
คล้ายขนนกในปัจจุบัน
หากจะเรียกว่า ‘ขนนก’ ก็ไม่ถูกนัก เพราะ ไดโนเสาร์ต่างหาก
คือต้นตำหรับวิวัฒนาการขนอย่างแท้จริง อ่านเพิ่มเติม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น