นักวิจัยค้นพบปลาสายพันธุ์พิเศษที่หากินใกล้บริเวณริมชายฝั่งตะวันออกของอเมริกา
จากการปล่อยสารเคมีลงแหล่งน้ำ
ทำให้พวกมันต้องวิวัฒนาการตัวเองให้ต้านทานสารเคมีกว่า 8,000 เท่า
เมื่อเทียบกับปลาทั่วๆ ไป
ปลาตัวจิ๋วๆ แต่ทนทายาด ‘ปลาคิลลี่ฟิช’ (Killifish) ที่อาศัยในฝั่งมหาสมุทรแอทแลนติก
ต้องอยู่ในน่านน้ำที่เต็มไปด้วยมลภาวะจากแหล่งอุตสาหกรรมของ ‘อ่าวนวร์ก’ (Newark
Bay) แต่นักวิจัยพบว่า พวกมันกำลังมีกระบวนการ ‘กลายพันธุ์’ (Mutation)
โดยทนต่อสารเคมีในน้ำได้สูงกว่าปลาสายพันธุ์อื่นๆ
จากการที่ต้องทนอยู่ในน่านน้ำที่เต็มไปด้วย ไดอ๊อกซิน
โพลีคลอริเนตไบฟีนิล (PCB) และสารโลหะหนักต่างๆ หากเป็นปลาสายพันธุ์อื่นๆ
คงว่ายน้ำหงายท้องแล้ว แต่ปลาคิลลี่ฟิชสามารถทนต่อสารเคมีอันตรายได้มากกว่าปกติถึง
8,000 เท่า
การกลายพันธุ์ที่ว่า
ทำให้ปลาพัฒนายีนพิเศษปิดกั้นเซลล์ไม่ให้ถูกทำลายจากสารเคมี แม้พวกมันจะดิ้นรนอยู่ได้
แต่ในมุมมองนักพิษวิทยานั้น ‘มันไม่ใช่ข่าวดีเลย อ่านเพิ่มเติม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น